เทคนิคใส่ Keyword และความจริงเกี่ยวกับโดเมน ในการทำ SEO ให้ติดหน้าแรก GOOGLE

12 เทคนิคใส่คีย์เวิร์ด (Keyword) ทำ SEO ให้ติดหน้าแรกกูเกิล

สำหรับผู้สนใจการปรับแต่งเว็บไซต์ บทความต่าง ๆ ในเว็บไซต์ เพจ ยูทูบ ฯลฯ เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้นจากบอทของกูเกิล ซึ่งบทความของเราจะค้นพบได้ก็ต่อเมื่อถูกค้นพบในหน้าแรกของกูเกิลนั่นเอง หน้าที่สองหรือหน้าถัดไป ผู้ค้นหาจะสนใจเปิดดูน้อยมาก นี่ว่ากันตามสถิติที่มีการเปิดเผยออกมาแล้วจากกูเกิลเองนะครับ ดังนั้นทุกคนที่มีเนื้อหาอยากเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ จึงต้องทำ SEO และวันนี้เราจะมาว่ากันถึงเรื่อง 12 เทคนิคใส่คีย์เวิร์ด (Keyword) ทำ SEO ให้ติดหน้าแรกกูเกิล นี่คือเทคนิคการใส่คีย์เวิร์ดให้ถูกหลัก หรือถูกใจระบบการค้นหาของกูเกิล รวมถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำ SEO แบบที่กูเกิลยอมรับ ทำแล้วบทความของเราจะได้มีอันดับที่ดี ถ้าติดอันดับ 1 ได้ก็สุดยอดไปเลย คุณจะได้แทฟฟิคเข้ามามากมาย (ถ้าคีย์เวิร์ดนั้นมีคนสนใจมากด้วยนะ)

ตำแหน่งต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เพจ คลิปยูทูบ ที่ต้องใส่คีย์เวิร์ดเพื่อทำ SEO มีดังนี้

  1. ใส่ Keyword ที่ชื่อเรื่อง ชื่อคลิป ชื่อบทความ โดยเรียงความสำคัญจากซ้ายไปขวาเสมอ นี่จะทำให้กูเกิ้ลรู้ว่าคีย์เวิร์ดของเนื้อหานั้นคืออะไร
  2. ใส่ Keyword ใน Heading tag H1 H2 หรือ H3 ก็ได้นิดหน่อย อย่าใส่ทุกตำแหน่งก็พอ อะไรเยอะเกินไปย่อมไม่ดี และส่งผลเสียได้
  3. ใส่ Keyword ตรงเนื้อหาในย่อหน้าแรก ประโยคแรก ๆ และเน้นด้วยตัวหนา ตัวเอียง
  4. ใส่ Keyword ที่ Text Link ใช้ Text link เป็นตัวเชื่อมโยง แล้วแทรก Keyword เข้าไปด้วย
  5. ใส่ Keyword ตรงเนื้อหาย่อหน้าสุดท้ายของบทความ ใช้ตัวเอียง ตัวหนา เพื่อเน้นให้กูเกิ้ลเห็นว่าสำคัญ
  6. ใส่ Keyword ตรงเมนูเลื่อนลง Drop Down Menu เป็นตำแหน่งใส่ Keyword ที่ไม่ควรมองข้าม
  7. ใส่ Keyword ในส่วนของ Folder name และ File name คั่นคีย์เวิร์ดแต่ละคำหรือวลีด้วยเครื่องหมาย – นั่นหมายถึงใส่ได้หลายคีย์เวิร์ด ไม่ต้องประหยัด (ฮา)
  8. ใส่ Keyword ในส่วนของ Images alt tag ตรงนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ระบบ Search Engine นั้นไม่รู้จักรูปภาพในเว็บไซต์ บอทไม่รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพอะไรได้ ดังนั้นการใส่คีย์เวิร์ดตรงจุดนี้จะเข้ามาช่วยได้
  9. ใส่ Keyword ตรง Text link title การใช้ text link title นั้นไม่ต่างจากการใช้ tag alt นั่นคือ tag นี้ใช้อธิบาย link นั่นเอง
  10. ใส่ Keyword ใน Domain name ซึ่งเคยเชื่อกันว่าจะช่วยเรื่อง SEO ได้ แต่ภายหลังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกูเกิ้ลได้ทวิตบอกว่าไม่ได้ส่งผลต่อคะแนนพิศวาสจากระบบของกูเกิ้ลเลย
  11. ใส่ Keyword ใน tag ต่าง ๆ เพียงไม่กี่คำ เอาที่กำลังดี
  12. ใส่ Keyword ในส่วนของพารากราฟแรกของบทความ ตรงประโยคแรกยิ่งดี

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำ SEO ที่เราควรรู้

  1. Domain Age หรือ อายุของโดเมน มันกจะเชื่อหรือสอนกันมานานว่า มีผลต่อการจัดอันดับ แต่ John Mueller เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เอาว่า “ไม่ว่าจะเป็นโดเมนเก่าหรือโดเมนใหม่ อายุโดเมนไม่ส่งผลโดยตรงต่ออันดับ SEO ของคุณ ในผลการค้นหาของ Google’s search”
  2. การมี Keyword ปรากฏอยู่ในชื่อโดเมน (Keyword Appears in Top Level Domain) เรื่องนี้ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำ SEO ไปมากกว่าการใช้ชื่อแบรนด์ของคุณเป็นชื่อโดเมน แต่ก็ยังทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณให้กับทาง Google มองเห็นถึงความเกี่ยวข้อง (Relevant) อยู่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ดีขึ้นว่า เว็บไซต์ของคุณเกี่ยวกับอะไร และอาจจะทำให้เพิ่มอัตราการคลิกมากขึ้นได้ด้วย
  3. ระยะเวลาในการจดทะเบียนโดเมน (Domain registration length) ในหน้าสิทธิบัตรของกูเกิ้ล ได้กล่าวว่า โดเมนที่ทำการจดทะเบียนและทำการจ่ายเงินล่วงหน้า สามารถใช้เป็นปัจจัยในการคาดการณ์ถึงความถูกต้องตามกฎได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เว็บไซต์จะได้คะแนนจาก Google ในส่วนนี้มากเป็นพิเศษ ยังไงก็ยังต้องโฟกัสในเรื่องของคุณภาพเว็บไซต์เป็นหลักครับ
  4. การใส่ Keyword ไว้ในเว็บไซต์ที่แยกจากโดเมนหลัก (Keyword in Subdomain) ทางผู้เชี่ยวชาญของ Moz ออกมายอมรับว่า การใส่ Keyword ไว้ใน Subbdomain นั้นช่วยในเรื่องของการจัดอันดับได้จริง
  1. Domain History หรือ ประวัติของโดเมน ถ้าโดเมนที่คุณใช้เคยมีคนใช้มาก่อนแล้วและเคยมีปัญหากับ Googe ในการทำเป็นลิงก์สแปม จะส่งผลเป็นอย่างมากต่อการจัดอันดับ SEO
  2. การใช้ Keyword หรือชื่อแบรนด์โดยตรงเป็นชื่อโดเมน (Exact Match Domain) เรื่องนี้อาจมีประโยชน์ต่อ SEO เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
  3. Public vs. Private WhoIs เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลเว็บไซต์ในฐานข้อมูล Whois ซึ่งเป็นเว็บตรวจสอบข้อมูลชื่อผู้ถือครองโดเมนว่าควรที่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ เรื่องนี้ได้รับคำตอบจาก John Mueller ของ Google มาแล้วว่า ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง
  4. Title Tag Starts with Keyword อ้างอิงจาก MOZ ที่ระบุว่า การวาง Keyword ไว้เป็นคำแรกของ Title Tag นั้นมีโอกาสที่ทำอันดับได้ดีกว่าการมี Keyword อยู่ส่วนท้ายของ title tag
  5. การทำสารบัญ (Table of Contents) จะช่วยทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ดีขึ้น รู้ว่า หน้านั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งมีผลคล้ายกับการจัดทำ sitelinks
  6. Page Loading Speed via HTML คือ ความเร็วในการโหลดเพจผ่าน HTML ซึ่งทั้ง Google และ Bing ใช้เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ โดย Google จะใช้ข้อมูลจริงของผู้ใช้งานผ่าน Chrome ในการประเมินความเร็วในการโหลดด้วย
  7. Use of AMP โดย AMP คือ วิธีการสร้างหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เว็บไซต์แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง AMP อาจมีผลต่อการทำอันดับในหมวดของ mobile version ของ Google News แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการจัดอันดับอย่างที่หลายคนเข้าใจ
  8. การปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพบนเว็บไซต์ (Image Optimization) ด้วยการชื่อไฟล์, alt text, title, description และ caption ของรูปภาพ เพื่อให้ Google รู้ว่ารูปนี้เกี่ยวข้องกับเพจนั้นอย่างไร และภาพเหล่านี้ก็มีโอกาสถูกจัดอันดับใน Search Image อีกด้วย
  9. ประวัติการอัปเดตหน้าเพจ (Historical Page Updates) หากคุณทำการอัปเดตเนื้อหาบ่อยมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหามีความสดใหม่สำหรับ Google มากเท่านั้น
  10. การใส่ Keyword ไว้ในหัวข้อย่อยอย่าง H2 H3 (Keyword in H2, H3 Tags) ถือเป็นการส่งสัญญาณเล็กๆ ให้ Google มองเห็นและเข้าใจโครงสร้างของหน้าเพจนั้นมากขึ้น ซึ่ง John Mueller เคยกล่าวไว้ว่า…“These heading tags in HTML help us to understand the structure of the page.”
  11. Broken Links หากเว็บของคุณมีลิงก์เสีย (Broken Links) มากเกินไป จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ไม่ได้รับการดูแล ซึ่งจะส่งผลต่อการวัดผลของคุณภาพของเว็บไซต์ด้วย
  12. Domain Authority หากทุกปัจจัยที่ใช้ตัดสินเท่ากันหมด เว็บไซต์ที่มี Domain Authority หรือก็คือ มีความน่าเชื่อมากกว่าก็จะมีอันดับที่สูงกว่า และทำอันดับได้ดีกว่าเสมอ
  13. ความยาวของ URL (URL Length) สำหรับ URL ที่มีความยาวเกินไป อาจส่งผลให้ Search Engine หาไม่เจอ และจากกรณีศึกษา พบว่า URL แบบสั้นมีแนวโน้มที่จะทำอันดับได้ดีกว่าในหน้าค้นหา Google อีกด้วย
  14. SSL Certificate Google ยืนยันว่า การใช้ HTTPS นั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำอันดับ
  15. อายุโดเมนของ Backlink ที่ส่งกลับมา โดยโดเมนที่มีอายุมากจะมีพลังที่ส่งกลับมากับ Backlink มากกว่าเว็บไซต์ที่เป็นโดเมนใหม่
  16. Authority ของเพจที่ทำการลิงก์มา Authority (PageRank) ของเว็บไซต์ที่ทำการส่ง Backlink มา ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
  17. Authority ของเพจที่ทำการลิงก์มา Authority (PageRank) ของเว็บไซต์ที่ทำการส่ง Backlink มา ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
  18. การเข้าชมเว็บไซต์โดยตรง (Direct Traffic) ได้รับการยืนยันว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome ในการระบุถึงความถี่ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ การที่เว็บไซต์มีจำนวน Direct Traffic เข้ามาจำนวนมากจะได้รับคะแนนที่สูงกว่า และจัดว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพมากกว่า
  19. การเข้าชมเว็บไซต์ซ้ำ (Repeat Traffic) การที่เว็บไซต์ไหนมีการเข้าชมซ้ำๆ มีโอกาสได้รับการจัดอันดับจาก Google มากขึ้น
  20. ระยะเวลาของการอยู่ในหน้าเพจ (Dwell Time) Google ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างยิ่ง โดย Google จะทำการวัดระยะเวลาที่ผู้ชมใช้ในหน้าเพจของคุณ ยิ่งอยู่นาน เท่ากับยิ่งดี

เป็นยังไงบ้างครับ สำหรับเทคนิคใส่คีย์เวิร์ด (Keyword) และข้อเท็จเกี่ยวกับการทำ SEO ให้ติดหน้าแรกกูเกิล ลองเอาไปปรับแต่งกันนะครับ แล้วเว็บไซต์ (ประยุกต์ใช้กับหน้าเพจเฟซบุ๊กและช่องยูทูบได้เหมือนกัน) ของคุณจะปังอย่างแน่นอน.

โดย กองบรรณาธิการ nittayasan.com