เมฆอาร์คัสมาแล้ว…เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 สิงหาคม โลกโซเชียลต่างเผยภาพปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส เป็นจำนวนมาก โดยนอกจากในพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงแล้ว ยังพบว่าจังหวัดอื่น ๆ ก็สามารถพบเห็นเมฆลักษณะดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน
“เมฆอาร์คัส” (Arcus Cloud) เป็นปฏิกิริยาหนึ่งของ เมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) ซึ่งเป็น เมฆชั้นต่ำที่ก่อตัวในแนวระนาบ ก่อตัวต่ำ เกิดเมื่อมวลอากาศเย็นปะทะมวลอากาศอุ่นชื้น จึงผลักมวลอากาศอุ่นชื้นขึ้นไปด้านบน จากนั้นกระแสลมแรงทำให้เมฆม้วนตัวเป็นทางยาวขนานไปกับพื้นผิวโลก เมฆดังกล่าวถือว่ามีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร
เมฆอาร์คัส หรือเมฆม้วน คืออะไร? เป็นลางร้ายไหม?
นักอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยาเผยว่า เมฆอาร์คัส เกิดจากลมที่หอบนำเอาความชื้นในชั้นบรรยากาศและฝุ่นละอองในอากาศพัดมารวมตัวกันจนทำให้เกิดเป็นกลุ่มเมฆอาร์คัส ซึ่งน้ำหนักของเมฆอาร์คัสจะหนักกว่าเมฆฝนแบบปกติ เนื่องจากมีฝุ่นละอองรวมอยู่ในกลุ่มเมฆอาร์คัส ทั้งนี้ ลม ฝุ่น และความชื้น ยังถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่งปรากฏการณ์อาร์คัสก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1.Shelf Cloud เป็น เมฆ ชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) ซึ่งจะก่อตัวในแนวระนาบ ลักษณะเป็นลิ่มยื่นออกมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (CB) โดยที่อากาศเย็นจะไหลลงมาจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง และแผ่กระจายไปโดยรอบบริเวณผิวพื้น ซึ่งแนวหน้าของลมที่ไหลลงมานั้นจะเรียกว่า Gust Front อากาศเย็นที่ไหลลงมานี้จะทำให้อากาศที่อุ่นกว่าบริเวณผิวพื้นซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าไหลขึ้นไป แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็น เมฆ ที่มีลักษณะคล้ายชั้นวางสิ่งของที่ยื่นมาจากเมฆก่อนใหญ่ จึงเรียกอาร์คัสประเภทนี้ว่า Shelf Cloud นั่นเอง
2. Roll Cloud เป็นเมฆชั้นต่ำตระกลูเดียวกับ Stratocumulus (SC) และก่อตัวในแนวระนาบเช่นเดียวกัน มีลักษณะเหมือนทรงกระบอกขนาดใหญ่ อาจยาวได้หลายกิโลเมตร สิ่งที่แตกต่างจาก Shelf Cloud คือ Roll Cloud นั้นจะไม่อยู่ติดกับเมฆชนิดอื่น จะเคลื่อนตัวออกไปจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง(CB) เกิดจาก Gust Front ที่สามารถทำให้อากาศบริเวณผิวพื้นเกิดการหมุนวน โดยที่อากาศอุ่นบริเวณผิวพื้นด้านหน้าถูกทำให้ไหลขึ้นไปด้านบนจากอากาศเย็นที่ไหลลงมาด้านหลัง แล้วเกิดการกลั่นตัวเป็นเมฆก้อนใหม่ มีลักษณะม้วนตัวนั่นเอง แต่การม้วนตัวของเจ้าเมฆทรงกระบอกนี้ จะดูตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของมันเสมอ
สำหรับ “เมฆอาร์คัส” (Arcus) หรือ เมฆกันชน ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของ เมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่ง ปรากฏการณ์อาร์คัส ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย
ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ “เมฆอาร์คัส” หรือ เมฆกันชน เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว 3 ครั้ง
-ครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อปี 2554 ที่บริเวณ บางขุนเทียน และคลองสาน
-ครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 ที่สนามบินอุดรธานี และในเวลาไม่นานก็เกิด ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส เหนือท้องฟ้าบริเวณสนามบินเก่า เขตเทศบาลเมืองเชียงราย อีกครั้ง
เว็บไซต์ nittayasan.com