วันไหว้พระจันทร์ พร้อมประวัติความเป็นมา

วันไหว้พระจันทร์ 10 กันยายน 2565 พร้อมประวัติความเป็นมา

พิธีไหว้พระจันทร์

การไหว้พระจันทร์เป็นหนึ่งในพระราชพิธีประจำปีสำคัญ ตามคติศาสนาขงจื๊อ ลัทธิเต๋าและศาสนาพื้นบ้านจีน สำหรับจักรพรรดิเป็นตัวแทนของราษฎรทรงต้องเสร็จประกอบพิธีบวงสรวงเป็นประจำทุกปีควบคู่กับการบวงสรวงฟ้า(ทีกง) ดิน(พระแม่ธรณี) พระอาทิตย์ และเทพเจ้าแห่งการเกษตรทุกปีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยเป็นพระราชพิธีสำคัญที่จะต้องประกอบพระราชพิธีทุกปี. ในสมัยรัชกาลหมิงซื่อจงแห่งราชวงศ์หมิง ทรงมีพระราชศรัทธาพิเศษอย่างยิ่งยวดในลัทธิเต๋า โดยโปรดให้สร้างเย่วถาน ขึ้นทางทิศตะวันตก ณ ตรงประตู ฟู่เฉิงเหมิน เพื่อใช้ในการพระราชพิธีพิธีไหว้พระจันทร์โดยเฉพาะ คู่กับวิหารแห่งพระอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกของปักกิ่ง และวิหารแห่งโลก ทางทิศเหนือ และโปรดให้ทำการต่อเติมหอสักการะแผ่นดินและฟ้า (เทียนตี้ถัน) และให้เปลี่ยนชื่อเป็น “หอสักการะฟ้า” (เทียนถัน) โดยเย่วถาน แห่งนี้ได้ใช้ในพระราชพิธีพิธีไหว้พระจันทร์ตลอดมาในสมัยราชวงศ์ชิงจนระบบราชสำนักจีนโบราณสิ้นสุดในปัจจุบันเย่วถาน ได้กลายเป็นสวนสาธารณะประจำนครปักกิ่งแล้วแต่โดยรวมยังคงสภาพความเป็นโบราณสถานไว้อยู่. ในพระราชพิธีไหว้พระจันทร์จักรพรรดิจะทรงฉลองพระองค์สีขาวนวล ทรงพระประคำรอบพระศอ เข็มขัดรัดพระองค์เป็นหยกขาว โดยการบูชาพระจันทร์นั้นจะเสด็จพระราชดำเนินไปยามค่ำ ประมาณหกโมงเย็น ถึงหนึ่งทุ่ม โดยเน้นสิ่งสำคัญที่สุดในพิธีคือขนมไหว้พระจันทร์จำนวนมากและหลังจากเสร็จพระราชพิธีบวงสรวงแล้วจะทรงพระราชทานขนมไหว้พระจันทร์แด่พระมเหสีและพระบรมวงศ์ทั้งปวง จนนางข้าหลวงและขันทีชั้นล่างและเฉลิมฉลองอย่างเป็นพิเศษ. และในพระพุทธศาสนาแบบจีนนับถือเป็นพระจันทรประภาโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า คู่กับพระสุริยประภาโพธิสัตว์ และเป็นหนึ่งในยี่สิบสี่เทพธรรมบาลจีนของพระพุทธศาสนาแบบจีน

ประวัติของวันไหว้พระจันทร์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ของทุกปี (วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน) ทุกๆ ครัวเรือนจะซื้อขนมไหว้พระจันทร์มาไหว้พระจันทร์ พร้อมกับการชมพระจันทร์จนกลายเป็นประเพณีของจีนตลอดมา สำหรับประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันไหว้พระจันทร์นั้น เกิดขึ้นเมื่อสมัยมองโกลเข้ามาปกครองแผ่นดินจีน เมื่อชาวมองโกลกดขี่ข่มเหงและทำร้ายชาวจีนอย่างโหดเหี้ยม และเพื่อควบคุมดูแลชาวจีนอย่างใกล้ชิด ชาวมองโกลจึงส่งทหารของตนไปประจำอยู่ในบ้านของชาวจีนครอบครัวละ 1 คน เป็นอันว่าชาวจีนทุกๆ ครัวเรือนต่างต้องเลี้ยงดูทหารมองโกล 1 คน ทหารมองโกลเหล่านี้ยังก่อกรรมทำชั่วไปหมด

ทำให้ชาวจีนขุ่นเคืองใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน คิดได้วิธีหนึ่ง คือ ให้นำกระดาษเขียนข้อความ แล้วสอดไส้ไว้ในขนม เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนลงมือสังหารทหารมองโกลที่ประจำอยู่ในบ้านของตน อย่างพร้อมเพรียงกันในวันเพ็ญเดือนแปด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวจีนที่ไปซื้อขนมมารับประทานกัน ต่างได้อ่านข้อความดังกล่าวและช่วยกันกระจายข่าวนี้ออกไป เพื่อก่อการปฏิวัติโดยพร้อมเพรียงกัน ณ วันเพ็ญเดือนแปด ทำให้สามารถโค่นล้มอำนาจการปกครองของมองโกลในที่สุด

เพื่อเป็นการฉลอง และรำลึกการกอบกู้แผ่นดินที่ประสบความสำเร็จ ประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันเทศกาลดังกล่าวจึงมีการสืบทอดกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าแห่งหนใดที่มีชาวจีนเดินทางไปถึงก็จะพาประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ ไปด้วย สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ที่แพร่หลายในไทยนั้น เป็นแบบของกวางตุ้งโดยส่วนใหญ่ หลายปีที่ผ่านมา ขนมไหว้พระจันทร์ที่ผลิตในไทย ไม่ว่าด้านคุณภาพ รสชาติ และการบรรจุล้วนมีระดับที่สูงขึ้น 

ในวันไหว้พระจันทร์ของทุกปี ชาวจีนจะนิยมทำ “ขนมไหว้พระจันทร์” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการ “เซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ผู้ดูแลการเกษตรประจำฤดูสารทของจีนโบราณ โดยจะทำพิธีเซ่นไหว้นี้หลังจากวันสารทจีน ซึ่งทำแค่ปีละครั้งเท่านั้น เมื่อเซ่นไหว้เสร็จก็จะนำขนมไหว้พระจันทร์ไปแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องในครอบครัวและเพื่อนบ้าน นั่งล้อมวงกินขนม พบปะ พูดคุย ในค่ำคืนวันเฉลิมฉลองด้วยกัน

แต่ขนมไหว้พระจันทร์ ไม่ได้มีมาตั้งแต่แรก แต่เริ่มมีขึ้นหลังจากสมัยของ “พระเจ้าถังเกาจู่” (ครองราชย์ พ.ศ. 1161-1169) โดยในครั้งนั้น มีพ่อค้าชาวธิเบตนำ “ขนมเย่ว์ปิ่ง” (ขนมไหว้พระจันทร์) ที่มีลวดลายสวยงามมาถวาย 

เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรขนมนี้ก็ทรงโสมนัสอย่างยิ่ง และทรงดำรัสชี้ไปที่เดือนเพ็ญว่า ต้องชวนพระจันทร์ชิมขนมนี้ด้วย แล้วแบ่งขนมนั้นพระราชทานขุนนางทุกคน จึงเกิดประเพณีกินขนมพระจันทร์คืนเดือนแปดตั้งแต่นั้นมา จากนั้นประเพณีนี้ก็ถูกส่งต่อจากในรั้วในวังมาถึงประชาชนทั่วไปนอกวังด้วย

เทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ ชาวจีนจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาล “จงชิวเจี๋ย” (Mid Autumn Festival) หมายถึง เทศกาลช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่พระจันทร์เปล่งแสงสวยงามที่สุด เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นจากประเพณีเก่าแก่ของชาวจีน และถือเป็นเทศกาลใหญ่รองจาก “ตรุษจีน” และ “สารทจีน” ของชาวจีนในแทบทุกท้องถิ่น ปัจจุบันเทศกาลนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก

อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ของการส่งเสริมความผูกพันในครอบครัว เนื่องจากสังคมชาวจีนมักจะอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ เทศกาลนี้จึงเป็นเหมือนการรวมญาติเพื่อเฉลิมฉลองและช่วยกันทำ “ขนมไหว้พระจันทร์” หลังเซ่นไหว้เสร็จ ก็จะนำขนมมาแบ่งกันกินในครอบครัว อีกทั้งมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองวันไหว้พระจันทร์ ด้วยการประดับประดาโคมไฟ เพิ่มสีสันให้ค่ำคืนวันไหว้พระจันทร์สวยงามมากขึ้น

เทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ ชาวจีนจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เทศกาล “จงชิวเจี๋ย” (Mid Autumn Festival) หมายถึง เทศกาลช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่พระจันทร์เปล่งแสงสวยงามที่สุด เป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นจากประเพณีเก่าแก่ของชาวจีน และถือเป็นเทศกาลใหญ่รองจาก “ตรุษจีน” และ “สารทจีน” ของชาวจีนในแทบทุกท้องถิ่น ปัจจุบันเทศกาลนี้แพร่กระจายไปทั่วโลก

อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ของการส่งเสริมความผูกพันในครอบครัว เนื่องจากสังคมชาวจีนมักจะอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ เทศกาลนี้จึงเป็นเหมือนการรวมญาติเพื่อเฉลิมฉลองและช่วยกันทำ “ขนมไหว้พระจันทร์” หลังเซ่นไหว้เสร็จ ก็จะนำขนมมาแบ่งกันกินในครอบครัว อีกทั้งมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองวันไหว้พระจันทร์ ด้วยการประดับประดาโคมไฟ เพิ่มสีสันให้ค่ำคืนวันไหว้พระจันทร์สวยงามมากขึ้น

วันไหว้พระจันทร์ 10 กันยายน 2565 พร้อมประวัติความเป็นมา
วันไหว้พระจันทร์ พร้อมประวัติความเป็นมา

ตำนานฉางเอ๋อ ที่มาของการไหว้พระจันทร์ อีกตำนานหนึ่ง

วันไหว้พระจันทร์มีความเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าด้วย หนึ่งในเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพมากก็คือ “ฉางเอ๋อ” ว่ากันว่าการไหว้พระจันทร์เป็นการบูชาและรำลึกถึงคุณงามความดีของเทพฉางเอ๋อ โดยมีตำนานเล่าว่า 

โลกของเราในยุคหนึ่ง มีพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน 10 ดวง เดือดร้อนชาวโลกเป็นอันมาก “ราชาโฮ่วอี้” ผู้มีชายาแสนงดงามชื่อ “ฉางเอ๋อ” จึงได้ขึ้นไปบนยอดเขาคุนหลุน แล้วใช้ธนูยิงอาทิตย์ดับไป 9 ดวง ทำให้ได้รับการแซ่ซ้องจากชาวเมือง มีผู้คนมาขอเรียนวิชาธนูมากมาย รวมถึง  “เฝิงเหมิง”  ผู้มีจิตใจชั่วร้ายด้วย

ต่อมาราชาโฮ่วอี้ได้ “ยาอายุวัฒนะ” จากผู้วิเศษท่านหนึ่ง และได้ฝากยานั้นไว้กับพระชายาฉางเอ๋อ ไม่นาน.. เฝิงเหมิงก็รู้เรื่องนี้เข้า จึงฉวยโอกาสที่โฮ่วอี้ไม่อยู่บุกเข้าวังไปชิงยาจากฉางเอ๋อ แต่นางไม่ยอมและกินยาอายุวัฒนะเสียเอง  ผลจากการกินยาวิเศษดังกล่าว ทำให้ร่างของนางล่องลอยไปถึงดวงจันทร์ กลายเป็นเทพีสถิตบนดวงจันทร์

พอราชาโฮ่วอี้กลับมาและรู้ข่าวนี้เข้า ก็ลงมือกำจัดเฝิงเหมิงจนตายไป  แต่ก็ไม่สามารถนำฉางเอ๋อกลับมาจากดวงจันทร์ได้ จากนั้นพระองค์ก็ได้แต่เศร้าโศกคิดถึงพระชายา “ฉางเอ๋อ” เสมอมา โดยเฉพาะวันเพ็ญเดือนแปดที่ดวงจันทร์งามกระจ่าง ราชาโฮ่วอี้จะจัดเครื่องเซ่นบูชาพระจันทร์เพื่อรำลึกถึงนางทุกปี

อีกหนึ่งตำนานเล่าต่างออกไปเล็กน้อย คือ เมื่อราชาโฮ่วอี้ได้รับ “ยาอายุวัฒนะ” มาแล้ว ก็กลายเป็นคนชั่วร้าย เบียดเบียนข่มเหงประชาชน ฉางเอ๋อกลัวชาวบ้านจะเดือดร้อนหากโฮ่วอี้เป็นอมตะ จึงชิงยาอายุวัฒนะมาดื่มเสียเอง แล้วลอยไปอยู่บนดวงจันทร์ ผู้คนจึงรำลึกถึงความดีงามของเธอด้วยการ “ไหว้พระจันทร์” กลางเดือนแปดสืบมา 

สนับสนุนข้อมูลโดย ycbd.website


เว็บไซต์ nittayasan.com