สะตอมีกี่ชนิด และสรรพคุณต่าง ๆ

สะตอมีกี่ชนิด และสรรพคุณต่าง ๆ

หลายคนอาจคิดว่าสะตอก็คือสะตอ พืชท้องถิ่นทางภาคใต้ของไทย และมาเลเซีย ตลอดจนอินโดนีเซีย มีลักษณะเป็นฝักยาวสีเขียว ภายในฝักมีเม็ดสะตอเรียงรายกันอยู่ข้างใน คนชอบกินก็ชอบจริง ๆ ส่วนคนไม่ชอบจะเหม็นกลิ่นของสะตอมาก ๆ และคิดว่าสะตอมีชนิดเดียว แต่แท้จริงแล้ว สะตอที่มองเผิน ๆ คล้ายกันนั้นยังแบ่งออกเป็น สะตอข้าวและสะตอดาน ในบางพื้นที่ของประเทศไทยอาจเรียกว่า ปะตา ปัดเต๊าะ ปาไต หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Pakria speciosa Hassk. ซึ่งมีกลิ่น รส และคุณลักษณะแตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้

สะตอข้าว

สะตอข้าวมีจุดสังเกตและจดจำคือ ฝักจะบิดเกือบเป็นเกลียว ฝักสั้น เมล็ดสะตอเล็ก กลิ่นไม่ฉุนรุนแรง เนื้อสะตอกรอบ ไม่แน่น แต่หวาน รสชาติโดยรวมเหมาะที่จะกินเป็นผักแกล้ม (ทางภาคใต้เรียกผักเหนาะ) กับน้ำพริกหรือน้ำชุบต่าง ๆ

สะตอดาน

จุดสังเกตของสะตอดานคือฝักยาว แบน ตรง ไม่บิด มีลักษณะเป็นกระดานจึงเรียกว่า สะตอดานนั่นเอง เปลือกฝักจะหนากว่าสะตอข้าว ฝักหนึ่งจะมี 10 – 20 เมล็ดที่ขนาดใหญ่ หากพูดถึงกลิ่น กลิ่นของสะตอดานจะแรง ฉุน กว่าสะตอข้าว เนื้อแน่นดี นิยมนำไปผัดกะปิ ผัดพริกแกง หรือทำแกงต่าง ๆ ได้อย่างเอร็ดอร่อย

สรรพคุณของสะตอ

เมล็ดสะตอ กินเป็นประจำช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ และยังช่วยทำให้รับประทานอาหารได้ดี พูดง่าย ๆ คือ เจริญอาหารนั่นเอง