กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการเป็นอย่างไร วิธีป้องกันและรักษา

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการเป็นอย่างไร วิธีป้องกันและรักษา

ลองเช็กดูซิว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยมีอาการดังกล่าวบ้างไหม

1. มีประวัติป่วยโรคเบาหวาน

2. ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

3. มีภาวะเครียด นอนพักผ่อนน้อยกว่าปกติ มีผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจผิดปกติ

4. มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนตั้งแต่เด็ก

5. สูบบุหรี่ประจำ

6. เวลานอนจะกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

7. ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอหรือไม่ออกกำลังกายเลย

ปัจจัยทั้ง 7 ข้อนี้ คือ สาเหตุสำคัญทำให้หลอดเลือดมีปัญหา พูดง่าย ๆ คือ ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นอาการหลอกเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจในที่สุด

ดังนั้นขอให้เฝ้าระวังสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า คุณอาจจะหัวใจวายเฉียบพลันได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง นั่นคือ

1. แน่นหน้าอก นานกว่าครั้งก่อน หรือนานกว่า 20 นาที

2. เหงื่อออกตามผิวหนัง เนื้อตัวตัวเย็น

3. คลื่นไส้ หน้ามืด อาเจียน จะเป็นลม รู้สึกแน่นหน้าอก

4. ปวดท้อง ตรงบริเวณลิ้นปี่ ปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่ โดยเฉพาะไหล่ซ้าย

5. หายใจหอบ หายใจไม่เพียงพอ หายใจสั้น ๆ

หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่งข้างต้นหรือหลายข้อ ให้นั่งพักทันที และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะแสดงว่าท่านมีเกณฑ์อยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด ถ้าช้าเกินไป หัวใจจะหยุดเต้น สมองอาจขาดออกซิเจน แล้วท่านจะกลายเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิต


ข้อมูลจาก : ศูนย์หัวใจวิชัยเวช โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการเป็นอย่างไร วิธีป้องกันและรักษา
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาการเป็นอย่างไร วิธีป้องกันและรักษา

กลับหน้าแรก