รายงานข่าวโควิด-19 วันนี้
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า โควิดสายพันธุ์ BA.5 ไม่ธรรมดา หากผู้ใดประมาทมีโอากาสเดี้ยงสูง เห็นได้จากหลายประเทศที่แม้จะโดนโอมิครอน BA.1/BA.2 ระบาดใหญ่มาก่อน แต่ขณะนี้ก็มี BA.5 ครองการระบาด โดยมีระลอกใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนผุ้ติดเชื้อต่อวันขณะนี้ถึง 200,000 คน มากกว่าระลอกก่อนเกือบ 2 เท่า การป้องกันตัวแบบ non-pharmacological interventions จึงมีความสำคัญมาก ได้แก่ การลดหรือเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวัน (การคลุกคลีใกล้ชิด อยู่ในที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี รวมถึงการแชร์ของกินของใช้ร่วมกัน และเรื่องการใส่หน้ากาก) นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า การติดเชื้อไม่จบสบาย ๆ ไม่ใช่เป็นแล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงและถึงตายได้ การติดเชื้อ การป่วย หรือหายป่วย ถือเป็นผลลัพธ์ระยะสั้น แต่หากรุนแรงจนเสียชีวิต ย่มมีผลกระทบระยะยาวต่อครอบครัวผู้ตาย และแม้จะรักษาจนหายในช่วงแรก โอกาสประสบปัญหาอาการผิดปกติทางร่างกายและอารมณ์ รวมถึงจิตใจในระยะยาว ที่เรียกกันว่า “ลองโควิด” มีตั้งแต่ 5-30 เปอร์เซ็นต์ เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรงก็ตามแต่ ดังนั้นขอให้คนไทยทุกคนระวังตัวกันเอาไว้ด้วย
Q & A คลายข้อสงสัย
Q : อาการเหมือนติดเชื้อโควิด แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีด ติดโควิด แล้วหรือยังนะ
A : ร่างกายอาจมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน หากรับไวรัสในปริมาณน้อยจะไม่มีอาการทันที แนะนำให้ตรวจ ATK ซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา
นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค กล่าวถึงสาเหตุที่หลายคนมีอาการเหมือนติดเชื้อโควิด 19 แต่ตรวจ ATK แล้วไม่ขึ้น 2 ขีดว่าบริบทของการตรวจ ATK วันนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ช่วงที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน อาการของโรคที่ชัดเจนจะทำให้ตรวจพบด้วย ATK ได้ง่าย แต่เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนแล้ว หากติดเชื้อจะรับไวรัสในปริมาณเพียงน้อยนิด แต่จะมีอาการทันที เช่น ระคายคอ วิงเวียนศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว จนต้องตรวจ ATK เพราะมีอาการ แต่ปริมาณไวรัสยังมีไม่มากพอ จึงให้ผลเป็นลบ ทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นโควิด 19 นอกจากตรวจซ้ำอีก 2-3 วันต่อมา จะพบว่าหลายคนขึ้น 2 ขีดแล้ว แนะให้ตรวจ ATK ในช่วงกักตัวหลังอาการหมดลง
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ “หมอธีระ” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น “โควิด-19” เผยตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงๆจากการคาดประมาณ พร้อมกับวิเคราะห์สถานการณ์ระบาดของไทยจากข้อมูล Worldometer วันนี้ (22 ก.ค.2565) จำนวนเสียชีวิตเมื่อวานสูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย
อาการของผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5
อาการไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ย่อย BA.1 BA.2 และสายพันธุ์เดลต้า อีกประการหนึ่งเพราะคนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว อาการจึงไม่รุนแรงมาก สามารถสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้นดังนี้
- ไอ
- อ่อนเพลีย หรือเมื่อยล้า
- เป็นไข้
- ปวดศีรษะ หรือปวดกล้ามเนื้อ
- เจ็บคอ
การฉีดวัคซีน 2 เข็ม สามารถป้องกันโรคสายพันธุ์เก่าได้ แต่ถ้ากลายพันธุ์ป้องกันได้ประมาณ 30% จึงขอประชาชนทุกคนไปฉีดวัคซีนเข็ม 3 เป็นอย่างน้อย ซึ่งตอนนี้ฉีดได้เพียง 35% ซึ่งถือว่าน้อยมาก และกลุ่มเสี่ยง 608 ยังฉีดได้ไม่ถึง 60% และ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ต้องฉีดวัคซีนเข็ม 3 เพื่อป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งข้อมูลล่าสุดขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศว่า ต้องฉีดวัคซีนเข็ม 4 เพื่อป้องกันโควิดสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ นี่ชี้ให้เห็นว่าองค์กรหลักระดับโลกได้ประกาศให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ดังนั้นอย่างไปเชื่อข่าวลือ ข่าวไม่ถูกต้องตามหลักวิชการแพทย์ที่บอกให้ปล่อยติดเชื้อโควิดเพื่อสร้างภูมิ เพราะจะเกิดผลเสียตามมามากมาย เช่นภาวะลองโควิด เป็นต้น
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันที่ 15 ก.ค.65 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล (หมอนิธิพัฒน์) หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุ
“เสร็จจากการสัมภาษณ์ทีวีเรื่องสถานการณ์โควิดหลังช่วงวันหยุดยาวห้าวัน ไม่รู้ตัวเองมองโลกสวยเกินไปหรือเปล่าว่า หลังเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนากันเรียบร้อยแล้วในอีกสองวันข้างหน้า สถานการณ์จะไม่บานปลายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เหมือนที่เคยให้ความเห็นไว้ครั้งก่อนว่า หลังสงกรานต์จะไม่เกิดปรากฏการณ์เขื่อนแตก เพราะเขื่อนมันแตกไปก่อนสงกรานต์พอดี โดยพีคหลักโอไมครอนจากสายพันธุ์ย่อย BA.2 ช่วงนั้น ยอดผู้ติดเชื้อขึ้นไปถึงวันละแสนกว่า และผู้ป่วยอาการรุนแรงสะสมที่สองพันกว่า
ที่เป็นเช่นนี้เพราะส่วนตัวเห็นว่าพีครองของโอไมครอนจากสายพันธุ์ย่อย BA.5 น่าจะขึ้นสูงสุดแล้วในช่วง 26 มิ.ย. ถึง 9 ก.ค. โดยมีผู้ติดเชื้อราวครึ่งหนึ่งของพีคหลัก ตกราววันละห้าหมื่นกว่าคน คงที่มาตลอดและมีแนวโน้มอาจเริ่มลดลง โดยยอดผู้ป่วยอาการรุนแรงยังขึ้นไปไม่เกิน 800 นั่นหมายถึงว่าความรุนแรงของ BA.5 อาจน้อยกว่า BA.2 ราว 20%
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ดร.โรเชลล์ วาเลนสกี จากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเธอยังไม่รู้ว่าเชื้อ BA.5 และ BA.4 ซึ่งมีความคล้ายกันอย่างมาก มีความรุนแรงแค่ไหนเมื่อเทียบกับโอมิครอนรุ่นก่อนๆ แต่พวกเธอรู้ว่า มันติดต่อง่ายขึ้น หลบภูมิคุ้มกันมากขึ้น คนที่เคยติดโควิดแล้วแม้จะเป็นเชื้อโอมิครอน BA.1 หรือ BA.2 ก็ยังเสี่ยงติดเชื้อพันธุ์ใหม่นี้
สำหรับคนที่รอลุ้นว่าปลายปีนี้ จะมีวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ครอบคลุมสายพันธุ์ BA.4/BA.5 ออกมาให้ใช้งานกันได้นั้น อาจคงต้องรอข้อสรุปการตัดสินใจของบริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตว่าจะเดินหน้าหรือไม่ เพราะวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ครอบคลุมสายพันธุ์ BA.1 ที่เตรียมไว้ก็อาจไม่มีประโยชน์เพราะตลาดวายแล้ว จะเตรียมไว้ไล่ตามตัวใหม่ๆ พอถึงเวลาออกมาจริงก็อาจมีตัวใหม่กว่ามาอีก ท้ายสุดอาจจะใช้แค่เข็มกระตุ้นแบบเดิมๆ เพื่อป้องกันการป่วยรุนแรงอาจจะคุ้มค่ากว่า แล้วรอให้เชื้อสายพันธุ์ย่อยค่อยๆ หมดแรงกันไปเอง
นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เตือนว่า ประชาชนจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุด หลังพบการระบาดของโรคโควิด-19 ในประชากรทุกกลุ่มอายุ และเรียกร้องให้กลุ่มช่วงอายุ 20 และ 30 ปีเศษ เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่รับวัคซีนน้อย
นายกฯ ญี่ปุ่น กล่าวว่า ช่วงปิดเทอมและหน้าเทศกาลฤดูร้อนกำลังมาถึง ทำให้การปฏิสัมพันธ์กันของประชาชนเพิ่มขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจะอำนวยความสะดวกด้วยการตั้งบูธฉีดวัคซีนให้ประชาชนตามสถานีรถไฟและท่าอากาศยานด้วย
อย่างไรก็ตาม นายคิชิดะย้ำว่า ปริมาณผู้ป่วยหนักและเสียชีวิตยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องออกมาตรการชะลอการระบาดในช่วงนี้
ส่วนรัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นเผย ยังไม่มีการพิจารณาเพื่อควบคุม หรือจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่ก็เรียกร้องให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในช่วงหยุดยาวสุดสัปดาห์นี้ รวมทั้งช่วงปิดเทอมฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึง
ด้านทางการกรุงโตเกียวประกาศยกระดับการเตือนภัยเป็นขั้นสูงสุด หลังพบการระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.5 สัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อใหม่
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 521,230,984 ราย อาการรุนแรง 39,021 ราย รักษาหายแล้ว 491,824,498 ราย เสียชีวิต 6,288,426 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 84,230,829 ราย
2. อินเดีย จำนวน 43,123,129 ราย
3. บราซิล จำนวน 30,688,390 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 29,183,646 ราย
5. เยอรมนี จำนวน 25,780,270 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,379,084 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 509,542,737 ราย อาการรุนแรง 42,430 ราย รักษาหายแล้ว 462,200,736 ราย เสียชีวิต 6,243,199 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 82,662,748 ราย
2. อินเดีย จำนวน 43,059,821 ราย
3. บราซิล จำนวน 30,349,463 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 28,303,931 ราย
5. เยอรมนี จำนวน 24,140,700 ราย
*ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 4,180,868 ราย
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2565
ติดเชื้อรายใหม่ (RT-PCR) 17,784 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 17,706 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 78 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,942,439 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ติดเชื้อเข้าข่าย (ATK)14,937 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 22,846 ราย
หายป่วยสะสม 1,786,451 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 183,154 ราย
เสียชีวิต 126 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,929 ราย
เฉลี่ยจังหวัดละ 25 ราย
อัตราครองเตียง ร้อยละ 24.5
22 เมษายน : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.ศบค.ชุดใหญ่ กล่าวภายหลังการประชุม ระบุว่า ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกระบบการเข้าประเทศแบบ Test&Go และเปลี่ยนมาใช้การตรวจหาเชื้อแบบ ATK แทน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกภาคการท่องเที่ยวสำหรับประเด็นเรื่อง การผลักดันให้ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้น ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ นายกฯ เผย ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ในตอนนี้
มาตรการเตรียมความพร้อม เปิดภาคเรียนที่ 1/25651) ประเมินตนเองของ รร. ผ่าน TSC plus2) สร้างความรับรู้แก่ผู้ปกครอง และบุคลากร3) เพิ่มมาตรการฉีดวัคซีนผู้ปกครอง บุคลากร โดยเฉพาะเข็ม booster dose ผ่านเครือข่ายระดับพื้นที่โดยเฉพาะคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด4) กำกับ ติดตาม ทบทวน มาตรการ และแผนเผชิญเหตุที่มา : ศบค.
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 501,113,443 ราย อาการรุนแรง 43,415 ราย รักษาหายแล้ว 450,959,851 ราย เสียชีวิต 6,209,620 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเฉลี่ยสะสมสูงสุด (ย้อนหลัง 7 วัน)
1. เกาหลีใต้ จำนวน 1,367,873 ราย
2. เยอรมนี จำนวน 977,384 ราย
3. ฝรั่งเศส จำนวน 935,108 ราย
4. อิตาลี จำนวน 438,144 ราย
5. ออสเตรเลีย จำนวน 367,495 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 10 จำนวน 168,279 ราย
.
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันพุธที่ 13 เมษายน 2565 รวม 23,015 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 22,920 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 95 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,725,434 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 27,626 ราย
หายป่วยสะสม 1,521,298 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 232,682 ราย
เสียชีวิต 106 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,971 ราย
เฉลี่ยจังหวัดละ 26 ราย
อัตราครองเตียง ร้อยละ 27.7
.
สถานการณ์ทั่วโลก วันที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 06:00 น.
⁃ผู้ป่วยยืนยัน 497,350,384 ราย
⁃กลับบ้านแล้ว 432,973,232 ราย
⁃ยังรักษาใน รพ.58,178,690 ราย
⁃เสียชีวิต 6,198,462 ราย
.
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 รวม 24,635 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 24,601 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 34 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,330,285 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 25,753 ราย
หายป่วยสะสม 1,109,609 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 250,737 ราย
เสียชีวิต 81 ราย
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,718 ราย
เฉลี่ยจังหวัดละ 22 ราย
อัตราครองเตียง ร้อยละ 27.8
.
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 เวลา 11.30 น.สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ 25,456 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,052,663 ราย หายป่วยแล้ว 858,475 ราย เสียชีวิตสะสม 2,297 ราย
.
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 รวม 22,130 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 22,103 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 27 ราย
ผู้ป่วยสะสม 983,520 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
———————
หายป่วยกลับบ้าน 23,508 ราย
หายป่วยสะสม 788,794 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 225,889 ราย
———————
เสียชีวิต 70 ราย
.
วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 373,006,494 ราย
อาการรุนแรง 94,376 ราย
รักษาหายแล้ว 294,606,481 ราย
เสียชีวิต 5,676,020 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
- สหรัฐอเมริกา 🇺🇸 จำนวน 75,481,122 ราย
- อินเดีย 🇮🇳 จำนวน 41,087,817 ราย
- บราซิล 🇧🇷 จำนวน 25,247,477 ราย
- ฝรั่งเศส 🇫🇷 จำนวน 18,808,625 ราย
- สหราชอาณาจักร 🇬🇧 จำนวน 16,406,123 ราย
ประเทศไทย 🇹🇭 อยู่ในอันดับที่ 30 จำนวน 2,432,534 ราย
.
🇹🇭 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565
รวม 8,640 ราย
จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากในประเทศ 8,445 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 195 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 8,641 ราย
หายป่วยสะสม 88,488 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
เสียชีวิต 13 ราย
.
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันอังคารที่ 18 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 331,364,198 ราย
อาการรุนแรง 96,065 ราย
รักษาหายแล้ว 269,037,888 ราย
เสียชีวิต 5,563,428 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
- สหรัฐอเมริกา 🇺🇸 จำนวน 67,631,191 ราย
- อินเดีย 🇮🇳 จำนวน 37,602,832 ราย
- บราซิล 🇧🇷 จำนวน 23,083,297 ราย
- สหราชอาณาจักร 🇬🇧 จำนวน 15,305,410 ราย
- ฝรั่งเศส 🇫🇷 จำนวน 14,274,528 ราย
ประเทศไทย 🇹🇭 อยู่ในอันดับที่ 26 จำนวน 2,337,811 ราย
ล่าสุด ศาสตราจารย์ ทิม สเปกเตอร์ หัวหน้าทีมศึกษา Zoe Covid Symptom และคณะกำลังรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยหลายพันคนเพื่อวิเคราะห์อาการและดูว่าเชื้อกลายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาพบอาการ 5 อย่างที่เหมือนกัน ได้แก่
- น้ำมูกไหล
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- จาม
- เจ็บคอ
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันอังคารที่ 18 มกราคม 2565 รวม 6,397 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 6,232 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 165 ราย
ผู้ป่วยสะสม 114,376 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565).
หายป่วยกลับบ้าน 6,637 ราย
หายป่วยสะสม 65,409 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 81,952 ราย
เสียชีวิต 18 ราย
.
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565
รวม 6,929 ราย
จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 6,720 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 209 ราย
ผู้ป่วยสะสม 107,979 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 5,255 ราย
หายป่วยสะสม 58,772 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,210 ราย
เสียชีวิต 13 ราย
.
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
รายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565
รวม 8,077 ราย จำแนกเป็น
- ผู้ป่วยจากในประเทศ 7,795 ราย
- ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 282 ราย
- ผู้ป่วยสะสม 101,050 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
- หายป่วยกลับบ้าน 4,887 ราย
- หายป่วยสะสม 53,517 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
- ผู้ป่วยกำลังรักษา 80,549 ราย
- เสียชีวิต 9 ราย
.
แนวทางฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ของ สธ. ม.ค. 65
1. ผู้ที่ถึงกำหนดฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
- Sinovac-AstraZeneca ส.ค. – ต.ค. 64 ฉีดเข็มกระตุ้นด้วย AstraZeneca
- AstraZeneca ครบ 2 เข็ม ส.ค. – ต.ค. 64 ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย Pfizer
- ฉีดวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม ตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ฉีดเข็มกระตุ้นด้วย AstraZeneca
2. วัคซีนเข็มกระตุ้นผู้มีประวัติการติดเชื้อ
- AstraZeneca กระตุ้นผู้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบเกณฑ์ หรือครบตามเกณฑ์น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ก่อนการติดเชื้อ
ทั้งนี้สามารถใช้สูตรอื่นที่ผ่านการรับรองทางวิชาการได้ ภายใต้จำนวนวัคซีนที่มีในพื้นที่
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
5 อาการไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งเกิดขึ้นขณะนอนหลับ
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
- เหนื่อยง่าย
- ไอแห้ง ๆ
- เหงื่อออกกลางคืน แม้จะนอนหลับในห้องปรับอากาศ หรืออากาศเย็น
.
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565 เวลา 11.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ 8,167 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 77,022 ราย หายป่วยแล้ว 39,486 ราย
เสียชีวิตสะสม 185 รายข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,300,457 ราย
หายป่วยแล้ว 2,207,980 ราย
เสียชีวิตสะสม 21,883 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 12 มกราคม 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 107,771,259 โดส
วันที่ 12 มกราคม 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 49,703 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 116,093 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 333,559 ราย
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันพุธที่ 12 มกราคม 2565
รวม 7,681 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 7,282 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 110 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขังจำนวน 12 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศจำนวน 277 ราย
ผู้ป่วยสะสมจำนวน 68,855 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้านจำนวน 3,350 ราย
หายป่วยสะสมจำนวน 35,641 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษาจำนวน 66,283 ราย
เสียชีวิตจำนวน 22 ราย
แผนเตรียมพร้อมรองรับผู้ป่วยโควิด
Home Isolation คุณภาพ
- ติดต่อผู้ป่วยกลับภายใน 6 ชม. หลังได้รับแจ้งจากสายด่วน 1330
- ส่งสิ่งของ อุปกรณ์จำเป็น และเวชภัณฑ์ ภายใน 24 ชม.
- Telemonitor ทุกวัน
Community Isolation รัฐจัดไว้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
วันอังคารที่ 11 มกราคม 2565 เวลา 11.30 น. สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ 7,133 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 61,174 ราย หายป่วยแล้ว 32,291 ราย เสียชีวิตสะสม 152 ราย ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,284,609 ราย หายป่วยแล้ว 2,200,785 ราย เสียชีวิตสะสม 21,850 ราย ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 10 มกราคม 2565 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งหมด จำนวน 106,758,696 โดส
.
สำนักข่าว Bloomberg รายงานการค้นพบของเลลอนดิออส คอสตริกิส (Leondios Kostrikis) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยไซปรัส และดำรงตำแหน่งหัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสโมเลกุล
ศาสตราจารย์คอสตริกิสเปิดเผยว่า สายพันธุ์ของ Covid-19 เดลต้าและโอมิครอนได้ผสมเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกนี้ ได้ถูกพบในไซปรัส โดยกล่าวกับ Sigma TV Friday ว่า การค้นพบนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า “เดลตาครอน” (Deltacron) เนื่องจากมีการระบุรายละเอียดทางพันธุกรรมเหมือนโอมิครอนอยู่ภายในจีโนมเดลต้า
.
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ณ วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 ยอดรวม 8,511 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 7,942 รายผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 199 รายผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขังจำนวน 20 รายผู้ป่วยมาจากต่างประเทศจำนวน 350 ราย ผู้ป่วยสะสมจำนวน 2,240,687 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้านจำนวน 2,605 ราย หายป่วยสะสมจำนวน 2,166,441 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษาจำนวน 53,858 ราย และผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ศพ
.
กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศไทย ประจำวันเบื้องต้น ณ วันที่ 8 มกราคม 2565 มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่จำนวน 8,263 ราย แยกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 7,584 ราย, ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 218 ราย, ผู้ป่วยภายในเรือนจำและที่ต้องขังจำนวน 110 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศจำนวน 351 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,232,176 ราย
.
รายงานสถานการณ์ โควิด-19 ประจำวันเบื้องต้น โดยข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565 พบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่จำนวน 7,526 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 6,706 ราย, ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 433 ราย, ผู้ป่วยภายในเรือนจำกับที่ต้องขังจำนวน 39 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศจำนวน 348 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,223,913 ราย ขณะที่ ผู้หายป่วยกลับบ้านแล้วจำนวน 2,895 ราย ทำให้มีผู้หายป่วยสะสมทั้งหมด (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,160,971 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษาจำนวน 42,580 ราย และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 19 ศพ.
.
วันที่ 6 มกราคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ดังนี้
จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศ 5,775 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำและที่ต้องขัง 77 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 215 ราย
จำนวนผู้รักษาหายเพิ่มขึ้น 2,673 ราย
จำนวนผู้หายป่วยสะสม 2,185,502 ราย (ตั้งแต่ปี 2563)
จำนวนผู้อยู่ระหว่างรักษาตัว 37,968 ราย แบ่งออกเป็น โรงพยาบาล 20,498 ราย โรงพยาบาลสนาม และอื่น ๆ จำนวน 17,470 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 536 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 146 ราย
.
กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ของโรคระบาด โควิด-19 วันที่ 5 มกราคม 2565 ว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่จำนวน 3,899 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ จำนวน 3,648 ราย, ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 14 ราย, ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขังจำนวน 68 ราย รวมถึงมีผู้ป่วยมาจากต่างประเทศจำนวน 169 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,210,612 ราย
.
รายงานจากศูนย์ข้อมูล COVID-19 เปิดเผยว่า มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ณ วันอังคารที่ 4 มกราคม 2565รวม 3,091 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,963 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 2 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 2 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 124 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,206,713 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) คนที่หายป่วยกลับบ้าน 2,688 ราย คนที่หายป่วยสะสม 2,152,895 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)ผู้ป่วยกำลังรักษา 33,505 ราย และมีผู้เสียชีวิต 12 ราย
.
ประเทศอังกฤษเปิดเผยว่า กรณีฉีดวัคซีนเข็ม 3 ผ่านไป 2 สัปดาห์ ป้องกันป่วยหนัก Omicron ได้ 88% หน่วยงานความมั่นคงด้านสุขภาพของ UK เปิดเผยว่า การฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เข็มเพื่อกระตุ้น มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเข้าโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งรวมถึงเชื้อ Omicron ได้ถึง 88% ข้อมูลดังกล่าวช่วยยืนยันว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ของ AstraZeneca , Pfizer , Moderna สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron ได้เล็กน้อย แต่การป้องกันการป่วยหนักยังทำได้ดี ทางหน่วยงาน UKHSA ได้วิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ Omicron มากกว่า 600,000 ราย ในอังกฤษที่ติดเชื้อก่อนวันที่ 29 ธันวาคม และพบว่า วัคซีน 1 เข็ม สามารถป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ 52% ถ้าฉีด 2 เข็ม จะป้องกันเพิ่มขึ้นเป็น 72% แต่หลังจากผ่านไป 25 สัปดาห์ การป้องกันจะลดลงเหลือ 52% และหลังจากฉีดวัคซีนเข็ม 3 ไป 2 สัปดาห์ การป้องกันการเข้าโรงพยาบาลจะอยู่ที่ 88% (ที่มา ศบค.)
.
กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โควิด-19 ณ วันที่ 3 มกราคม 2565 มีผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 2,927 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังจำนวน 2,684 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุกจำนวน 54 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำจำนวน 21 ราย ผู้ป่วยเดินทางมาจากต่างประเทศจำนวน 168 ราย วันนี้จึงมีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564) จำนวน 2,203,622 ราย
.
ข่าวโควิด-19 วันที่ 2 มกราคม 2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน และรายงานข้อมูลเบื้องต้น สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่รวมทั้งสิ้น 3,112 ราย แยกเป็นเคสต่าง ๆ ดังนี้
- ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,896 ราย
- ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 65 ราย
- ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 2 ราย
- ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 149 ราย
- ผู้ป่วยสะสม 2,200,695 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
วันนี้มีหายป่วยรักษาหายแล้วกลับบ้านเพิ่มจำนวน 2,921 ราย หายป่วยสะสมแล้วจำนวน 2,147,304 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษาอยู่จำนวน 33,108 ราย และเสียชีวิตจำนวน 12 ศพ
.
ดร.เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก แถลงข่าวในวันปีใหม่ 2565 ว่า เขาเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถเอาชนะการระบาดของโควิด-19 ได้ในปีนี้ หากประเทศต่าง ๆ ร่วมกันควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส แต่เขาเตือนว่า แม้โลกจะมีเครื่องมือในการรักษาโรคโควิด-19 มากขึ้น ทว่าต้องระวังเรื่องแนวคิดชาตินิยมและการกักตุนวัคซีน เพราะนี่จะทำให้ไวรัสวิวัฒนาการ
“แนวคิดชาติที่คับแคบและการกักตุนวัคซีนของบางประเทศ ได้บ่อนทำลายความเท่าเทียมและสร้างเงื่อนไขในอุดมคติให้เกิดสายพันธ์ุโอมิครอนขึ้นมา และยิ่งเกิดความไม่เท่าเทียมนี้ดำเนินต่อไปนานเท่าใด ความเสี่ยงที่ไวรัสจะวิวัฒนาการไปในทางที่เราป้องกันหรือคาดเดาไม่ได้ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น หากเรายุติความไม่เท่าเทียมได้ เราก็จะหยุดการระบาดได้”
นับตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดในช่วงต้นปี 2563 จนถึงตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 287,679,407 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 5,434,480 ศพ
.
วันที่ 31 ธันวาคม 2564 นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยรายงานความคืบหน้าผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย ว่า การตรวจหาสายพันธุ์โควิด-19 ในผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ผู้ติดเชื้ออาการรุนแรงในประเทศ และคลัสเตอร์ใหญ่ขนาดใหญ่ รวมถึงผู้ติดเชื้อบริเวณชายแดน ข้อมูลสะสมตั้งแต่เปิดประเทศ วันที่ 1 พฤศจิกาย – 30 ธันวาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน (Potentially) จำนวน 1,145 ราย ในจำนวนนี้เป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศ 620 ราย และติดภายในประเทศจำนวน 525 ราย
“การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์โอมิครอน ใช้การดูแลไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งนี้ หากเราพบคลัสเตอร์เดียวกัน ที่มีผู้ติดเชื้อต้องสงสัยจำนวนมาก ก็อาจใช้วิธีสุ่มตรวจสายพันธุ์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจทุกราย เพื่อให้ทราบสถานการณ์เท่านั้น ไม่ต้องรู้ถึงระดับรายปัจเจกบุคคล” นพ.ศุภกิจกล่าว
.
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลา 07.30 นาฬิกา ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทยประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2564 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
จากการตรวจสอบโดยละเอียด พบว่ามีจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวน 3,037 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 2,956 ราย ผู้ติดเชื้อในเรือนจำจำนวน 81 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจำนวน 25 คน จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมจากการระบาดเวฟใหม่ ตั้งแต่ 1 เดือนเมษายน – 29 เดือนธันวาคม 2564 มีจำนวน 2,191,461 ราย เสียชีวิตสะสม 21,578 คน
สำหรับผู้ติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อต้นปี 2563 มีจำนวน 2,220,324 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 21,672 คน มีผลให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมอย่างเป็นทางการ อยู่ในอันดับ 24 ของโลก
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ยังเปิดเผยว่า จำนวนผู้หายป่วยจากโควิด-19 ในประเทศไทย วันนี้ 3,115 ราย
.
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 ณ ทำเนียบรัฐบาลไทย นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ตำแหน่งโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 หรือ ศบค. ได้แถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ล่าสุดตอนนี้พบว่า มีรายงานติดเชื้อรายใหม่ 2,575 ราย ติดเชื้อภายในประเทศไทยจำนวน 2,360 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและบริการจำนวน 2,360 ราย ค้นหาเชิงรุกในชุมชนจำนวน 59 ราย ติดเชื้อในเรือนจำจำนวน 40 ราย และมาจากต่างประเทศจำนวน 116 ราย
อาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน Omicron
จากการสำรวจผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนหรือโอไมครอน Omicron (B.1.1.529) ในรายงานทางการแพทย์ พบว่าผุ้ติดเชื้ออาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปอดอักเสบ
- ไอเล็กน้อย ไอแห้ง คันคอ
- การรับรู้รสชาติด้วยลิ้นไม่มีปัญหา
- การรับรู้กลิ่นไม่มีปัญหา
- มีไข้เพียงเล็กน้อย
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย และกล้ามเนื้อ มากน้อยแล้วแต่บุคคล
- รู้สึกเหน็ดเหนื่อยง่าย มีเหงื่อออกยามกลางคืน
- รู้สึกอ่อนเพลีย มากน้อยแล้วแต่บุคคล
รายงานยังระบุว่า ผู้ฉีดวัคซีนแล้วอาการเจ็บป่วยจะไม่รุนแรงมาก แต่ยังไม่ควรประมาท ต้องป้องกันเชื้อไวรัสด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ คนที่ร่างกายอ่อนแอ กลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ และฉีดวัคซีนให้ครบ 2 โดส หรือเพิ่มเข็มที่ 3 ต่อไป
เรื่องนี้ตรงกับที่แพทย์หญิงโคเอตซี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานแพทยสมาคมของประเทศแอฟริกาใต้ เปิดเผยว่า คนไข้ที่รับเชื้อไวรัสโอมิครอนเข้าสู่ร่างกาย จะมีอาการรุนแรงใกล้เคียงสายพันธุ์เดิม กล่าวคือจะมีอาการไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก และอาการอ่อนเพลีย แต่แตกต่างไปตรงที่ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ไม่มีปัญหาเรื่องการได้กลิ่นกับการรับรส จึงพอสรุปได้ว่า ไวรัสโอมิครอนทำให้เกิดโรคที่มีอาการรุนแรงปานกลาง
แต่ล่าสุด แพทย์หญิงฟาน เคิร์กโฮฟ มาเรีย ฟาน เคิร์กโฮฟ หัวหน้าแผนกโรคโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก แจ้งว่า การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและไวมากของสายพันธุ์โอมิครอน จะทำให้คนไข้ในประเทศต่าง ๆ ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งหากระบบของโรงพยาบาลและการสาธารณสุขโดยรวมล่มเหลวพังทลาย คนไข้จะเสียชีวิตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ทางด้านนายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ของดับเบิลยูเอชโอ เผยว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกำลังระบาดหนักและรุนแรงในอัตราที่ไวกว่าไวรัสสายพันธุ์อื่น และมีแนวโน้มจะระบาดไปทั่วทุกประเทศทั่วโลกของเรา
นอกจากนี้ ดับเบิลยูเอชโอยังเปิดเผยว่า หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ว่า วัคซีนต้านโควิด-19 อาจมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคนแสดงความคิดเห็นว่า ขณะนี้เร็วเกินไป หากจะกล่าว่า “โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตา”
สรุปอาการติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนหรือโอไมครอน พบว่ามีอาการ “ไอ” มากที่สุด
ไอ 54%
เจ็บคอ 37%
ไข้ 29%
ปวดกล้ามเนื้อ 15%
มีน้ำมูก 12%
ปวดศีรษะ 10%
หายใจติดขัดลำบาก 5%
การได้กลิ่นลดน้อยลง 2%
วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ โดยช่วงหนึ่งได้กล่าวถึงสถานการณ์ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน พบว่า จากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่รายงานเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ 205 ราย (ข้อมูล ณ 23 ธ.ค. 64) แต่วันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโอไมครอนสะสมขยับขึ้นเป็น 514 ราย (ข้อมูล ณ 26 ธ.ค. 64) และได้เปิดเผยข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจำนวน 41 ราย ทำให้ทราบว่ามี 8 อาการที่พบได้มากที่สุด นั่นคือ อาการไอ 54 % รองลงมาคืออาการเจ็บคอ 37 % มีไข้ 29 % ปวดกล้ามเนื้อ 15 % มีน้ำมูก 12 % ปวดศีรษะ 10 % หายใจติดขัดลำบาก 5 % ได้กลิ่นลดลง 2 %
และ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวถึงอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ว่า จากข้อมูลทั้งในประเทศและต่าง เท่าที่ได้รับรายงานมา ในเบื้องต้นยังคงพบว่า อาการไม่แตกต่างจากอาการโควิด-19 ส่วนใหญ่ ซึ่งผู้ป่วยหรือผู้ได้รับเชื้อ จะมีอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน มีไข้ เจ็บคอ และไอแห้ง เกือบทุกประเทศรายงานตรงกันว่า ความรุนแรงไม่มากเท่าสายพันธุ์เดลตา หลายประเทศรายงานว่า โอมิครอนหรือโอไมครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตาพอประมาณ และยังพบคนป่วยบางรายมีอาการปอดอักเสบบ้าง แต่ไม่มากเท่าไรนัก
สำหรับการรักษาในไทยจะให้ยาต้านไวรัส (Favipiravir) ภายใน 3 วัน (24-72 ชั่วโมง) ซึ่งจากการรักษา พบว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้น และหายเป็นปกติ นอกจากนี้ ข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในไทยจำนวน 100 รายแรก พบว่าเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศจำนวน 99 ราย ติดเชื้อในประเทศ 1 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุต่ำสุดคือ 34 ปี อายุมากที่สุดคือ 77 ปี โดยผู้ป่วยไม่มีอาการพบได้ประมาณครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งมีอาการไม่มาก ในจำนวนผู้ติดเชื้อ 100 รายแรก ยังไม่มีรายใดต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และยังไม่มีรายใดเสียชีวิต แต่พบผู้ป่วยปอดอักเสบจำนวน 7 ราย และทุกรายได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วครบ 2 โดส
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจนถึง 26 ธ.ค. 64 สะสมอยู่ที่ 514 ราย ที่เป็นต้นเชื้อ กระจายใน 14 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบเข้าประเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไม่กักตัว(Test and go) ระบบแซนด์บ๊อกซ์ (Sand box) และระบบกักตัว(Quarantine) แล้วตรวจจับได้ พบเป็นการสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางจากต่างประเทศ ประมาณ 20%
รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับโควิด-19 จะได้การรายงานความคืบ และนำมาเสนอต่อไป.
เว็บไซต์ nittayasan.com