WHO ประกาศ “โรคฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก หลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยกำลังระบาดหนักในยุโรป และปัจจุบันนี้พบแล้ว 1 รายในประเทศไทย
ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร (Monkeypox) คืออะไร?
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าง กระรอก ฯลฯ ค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง”
โรคฝีดาษลิงระบาดเริ่มในทวีปแอฟริกาจนกลายเป็นโรคประจำถิ่น อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-10% การเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ
- สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิต 10%
- สายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%
อาการโรคฝีดาษลิง เป็นอย่างไร?
ระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิงจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 7-14 วัน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการแสดงต่าง ๆ ดังนี้คือ มีไข้สูง ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดกระบอกตา และต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย
เชื้อไวรัสฝีดาษลิง แพร่กระจายจากคนสู่คน
ต้นกำเนิดของโรคมาจากลิง แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เช่นกัน ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด เช่น น้ำลาย เลือด น้ำเหลือง เสมหะ น้ำจากช่องคลอด น้ำจากอวัยะเพศชาย น้ำมูก ฯลฯ
ผู้ป่วยฝีดาษลิงอาจเป็นแล้วแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว
เชื้อไวรัสฝีดาษลิงมีระยะฟักตัวนาน 21 วัน และผู้ป่วยบางรายมีอาการผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้นแค่ในเยื่อบุช่องปากและที่อวัยวะเพศ กลุ่มนี้มีจำนวนถึง 60% ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงแล้ว ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นได้ ผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงหรือไม่
ฝีดาษลิงสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัส
สามารถใช้ยารักษาฝีดาษในมนุษย์ได้ ตัวยานั้นคือ Tecovirimat, Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อตับได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถหายได้เองในผู้ป่วยที่แข็งแรง และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำ จึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป การใช้ยาต้านไวรัสมีความจำเป็นเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นอันตรายสูงเท่านั้น เช่นผู้ป่วยที่กินยากดภูมิคุ้มกัน หรือผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด
ปัจจุบันยังไม่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง
ประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นต้องรับการฉีดวัคซีนป้องกัน เนื่องจากการแพร่ระบาดยังอยู่ในวงจำกัด วัคซีนเหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่มีโอกาสสัมผัสโรคนี้ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย
ฝีดาษลิงกลายพันธุ์ได้
ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การระบาดของโรคฝีดาษลิงพร้อมกันกว่า 100 รายในหลายประเทศนอกทวีปแอฟริกา (ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่น) ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ล้วนมีที่มาจากฝีดาษลิงกลายพันธุ์
เว็บไซต์ nittayasan.com