ประวัติสุนทรภู่ “วันสุนทรภู่” 26 มิถุนายน อัพเดทล่าสุด

ประวัติสุนทรภู่ "วันสุนทรภู่" 26 มิถุนายน อัพเดทล่าสุด

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีถือเป็น “วันสุนทรภู่” กวีเอก 4 แผ่นดินของประเทศไทย ผลงานเด่น ๆ เช่น พระอภัยมณี, กาพย์พระไชยสุริยา, สิงหไตรภพ ที่นำมาพิมพ์ นำมาอ่าน นำมาสร้างละคร จนนับครั้งไม่ถ้วน ดังนั้นจึงถือว่าเป็นผู้มีความสำคัญ จึงจัดให้มีวันสุนทรภู่ทุกวัน เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าในผลงานวรรณคดีของท่าน

ประวัติสุนทรภู่ “วันสุนทรภู่” 26 มิถุนายน

  • พระสุนทรโวหาร ชื่อเดิมคือ ภู่ คนทั่วไปเรียกก สุนทรภู่ (เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 และ มรณะ พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงในฐานะกวี เกิดย่านวังหลัง (ปัจจุบันคือสถานีรถไฟบางกอกน้อย) หลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 4 ปี
  • แม่ของสุนทรภู่เป็นแม่นมของพระราชธิดาในกรมพระราชวังหลัง เมื่อเติบโตขึ้น ในวัยหนุ่ม สุนทรภู่ได้แอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อ แม่จัน เป็นบุตรหลานผู้ดีมีสกุล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วหนัก ถึงกับให้โบยและจำคุกทั้งสองคน แต่ครั้นกรมพระราชวังหลังเสด็จสู่สวรรค์ ในปี พ.ศ. 2349 จึงมีคนเดินเรื่องอภัยโทษแก่นักโทษทั้งหมด หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง ระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่าง ๆ และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน “เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย” ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของพ่อของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น “พระครูธรรมรังษี” เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ หนูพัด แต่ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันทั้งสองมีเรื่องทะเลาะกันเสมอ ภายหลังจึงหย่าร้างไป
  • ในปี พ.ศ. 2363 สุนทรภู่เข้ารับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้รับตำแหน่ง “ขุนสุนทรโวหาร” และเริ่มแต่งนิทานคำกลอนเรื่อง พระอภัยมณี ขณะติดคุกจากโทษฐานที่ทำร้ายญาติผู้ใหญ่ของแม่จัน สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่รีบออกบวช และได้รับการอุปถัมภ์จากเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่นเป็นนิจ เช่น พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี และปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่ว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย
  • ชีวิตของสุนทรภู่หมดวาสนา สิ้นยศ สิ้นลาภ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ส่งผลให้ต้องสร้างสรรค์ผลงานมากมายเมื่อเลี้ยงชีพ ก่อนที่จะกลับมาได้ดีมีตำแหน่งมีเจ้านายคุ้มศีรษะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยได้รับราชการเป็น “พระสุนทรโวหาร

ประวัติสุนทรภู่ช่วงบวช 18 ปี

  • พ.ศ.2372 ระหว่างเปลี่ยนรัชกาล สุนทรภู่บวชเป็นพระภิกษุและได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลาง คาดว่าระหว่างนั้นได้แต่งเรื่อง เพลงยาวถวายโอวาท และได้แต่งโคลงกลอนนิทานไว้มากมาย อาทิ พระอภัยมณี, ลักษณวงศ์, สิงหไตรภพ
  • พ.ศ.2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต ไม่นานก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี
  • พ.ศ.2394 เปลี่ยนรัชกาลอีกครั้ง พระสุนทรภู่ลาสิกขา รับราชการเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ได้แต่งนิราศ 2 เรื่อง คือ นิราศเมืองเพชร และ นิราศพระประธม
  • สุนทรภู่บั้นปลายชีวิตอาศัยอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอพระยามณเฑียรบาล (บัว) และ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2398 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ผลงานเรื่องสุดท้าย คือ บทละครเรื่องอภัยนุราช
  • สุนทรภู่เป็นกวีในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีชีวิตและสร้างสรรค์ผลงานใน 4 รัชกาล จึงได้รับการขนานนามว่ากวีสี่แผ่นดิน
ประวัติสุนทรภู่ "วันสุนทรภู่" 26 มิถุนายน อัพเดทล่าสุด
ประวัติสุนทรภู่ “วันสุนทรภู่” 26 มิถุนายน อัพเดทล่าสุด

ผลงานของสุนทรภู่

นิราศ

  • นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) – แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
  • นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) – แต่งหลังกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ในวันมาฆบูชา
  • นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) – แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) – แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
  • รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) – แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น “รำพันพิลาป” จากนั้นจึงลาสิกขา
  • นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) – เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
  • นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) – แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติม ซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่าบรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

นิทาน

  • เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

สุภาษิต

  • สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
  • สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
  • เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

บทละคร

  • เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทเสภา

  • เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
  • เรื่องพระราชพงศาวดาร

บทเห่กล่อมพระบรรทม

ใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ

  • เห่เรื่องพระอภัยมณี
  • เห่เรื่องโคบุตร
  • เห่เรื่องจับระบำ
  • เห่เรื่องกากี

เว็บไซต์ nittayasan.com